Mis à jour le 15/09/23

ในประเทศไทย สถาบันวิจัย IRD ได้ขับเคลื่อนและผลักดันโครงการวิจัยตามลำดับความสำคัญสามประการที่ตอบสนองต่อสาระสำคัญของการพัฒนาแบบยั่งยืน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และสังคม

Chemical analysis of the water carried out by the IRD

© François Carlet-Soulages

Chemical analysis of the water carried out by the IRD

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

โครงการวิจัยเหล่านี้มีหัวใจหลักในการเสนอความร่วมมือจาก IRD ในรูปแบบสหวิทยาการ มีเป้าหมายปฎิบัติการที่จะกระชับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศในเขตภูมิภาคใต้และประเทศในเขตภูมิภาคเหนือเส้นศูนย์สูตร โดยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนทักษะและวิทยาการต่างๆระหว่างทีมงานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความยั่งยืนในระดับสากล

สถาบันวิจัย IRD ในประเทศไทยดำเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในสาขาดังต่อไปนี้:

  • สาขาสิ่งแวดล้อม : การศึกษาระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ และผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • สาขาสาธารณสุข: การศึกษาโรคติดเชื้อ พาหะนำโรค และโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อประชากรไทย
  • สาขาสังคมศาสตร์: การศึกษาพลวัตของเมือง การใช้ธรรมาภิบาล และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

โครงการวิจัยหลัก

 

โครงการวิจัยด้านสาธารณสุข

 

  •  เข้าใจกลไกการติดเชื้อไวรัส Tembusu เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ในการป้องกันการเกิดโรค (พ.ศ.2566 -)
  • BioVectrol: ชีววิทยาและการควบคุมยุง พาหะนำโรคในประเทศไทย (พ.ศ. 2547-2567)
  • CaPThai: ดำเนินการแผนยุทธศาสตร์สาธารสุขในการคัดกรอง การรักษาและการป้องกันวัณโรคในประเทศไทย (พ.ศ.2566 – 2569)
  • คุณลักษณะที่มีผลต่อการแพร่เชื้อฟลาวิไวรัสในน้ำลายของยุง (2566 – 2568)
  • DisCoVer: วงจรธรรมชาติวิทยาของเชื้อ SARS-CoV2: การอุบัติของโรค และแหล่งระบาด (2563-2566)
  • iTAP: การลดการแพร่เชื้อของไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก (2555-2566)
  • NEOCELL: การศึกษาไวรัสที่แพร่เชื้อจากยุงในหลอดทดลอง (2566-)
  • QUALI-DEC: การหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับนางผดุงครรภ์และผู้ดูแลในการตัดสินใจที่ดีเพื่อเตรียมการผ่าคลอด (2563-2568)
  • VDOSAGE: การตรวจเชื้อไวรัสด้วยวิธี Double Stranded RNA (2566 – 2570)
  • ZIKAHOST: ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในระบบประสาทจากไวรัสซิก้า (2561-2566)

 

โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

 

  • การสึกกร่อนและพลวัตของความหลากหลายทางชีวภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2565-)
  • งานวิจัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องมือวัดความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเครื่องดักจับการสำรวจระยะไกล (2564-2566)
  • Natural Forestore: การศึกษากลไลการฟื้นฟูป่าเขตร้อนและผลต่อการกักเก็บคาร์บอน (2566 – 2568)
  • ศาสตร์แห่งความยั่งยืนของนิเวศเกษตร ( 2566-)
  • Simple: การปลูกฝังเยาวชนต่อปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วยการใช้เมตาเวิร์ส (2566 – 2570)

 

โครงการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

  • BufFarm One Health SEA: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์เลี้ยงในฟาร์มกับองค์ความรู้ในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม (2563-2566)
  • Global Smog: วิจัยเกี่ยวกับมิลพิษทางอากาศในเมืองของประเทศภูมิภาคใต้ (2565 – 2568)
  • HAZE: มิติทางสังคมและนิเวศวิทยาของมลพิษทางอากาศในภาคเหนือของประเทศไทย (2561-2566)
Rainforest of Khao Sok National Park in Thailand

© DigiHand

Rainforest of Khao Sok National Park in Thailand

กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับไออาร์ดี (JEAI)

JEAI คือการรวมกลุ่มนักวิจัยจากประเทศในเขตภูมิภาคใต้ (อย่างน้อย 3 คน) สร้างสรรค์โครงการวิจัยและการฝึกอบรม โดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากหน่วยวิจัยของ IRD โครงการวิจัยผลักดันให้กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่สามารถสร้างทีมงานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับในสาขางานวิจัย ทั้งนี้พันธมิตรจากสถาบันต่างๆจะช่วยทำให้กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่นี้มีพื้นที่ในแวดวงสาขาวิทยาศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ

กลุ่มนักวิจัย (JEAI) ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2565:

  • JEAI BIMOMS - การสร้างแบบจำลองความหลากหลายและกระบวนการทางชีวภาพต่างๆจากระบบนิเวศป่าสู่กระบวนการระดับภูมิภาค
Photo Delta

© Curioso

ห้องปฏิบัติการร่วมระดับนานาชาติ (IJL)

IJL เป็นโครงการวิจัยที่ก่อตั้งและบริหารงานร่วมกันระหว่าง IRD และพันธมิตรท้องถิ่น(มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย) ที่มีแนวคิดสายวิทยาศาสตร์ทิศทางเดียวกันและรูปแบบเหมือนกัน โครงการวิจัยของ IJL ส่งเสริมการพัฒนาและการวิจัยแบบสหวิทยาการที่ผนึกรวมเป็นโครงสร้างปฏิบัติการของการวิจัยอย่างยั่งยืนภายใต้ความรับผิดชอบของประเทศพันธมิตรแบบทวิภาคี หรือระดับท้องถิ่น

IJL ระดับภูมิภาค 2 แห่งในประเทศไทยยังคงดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน:

  • IJL Presto - การศึกษาความเข้าใจเพื่อบรรเทาการแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คนในแหล่งที่ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • IJL LOTUS - ศูนย์ศึกษาระบบคู่ระหว่างชั้นบรรยากาศของภาคพื้นดินกับภาคพื้นมหาสมุทรระดับภูมิภาค
Seasonal air pollution in Chiang Mai

© Adobe

Seasonal air pollution in Chiang Mai

เครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศ (IRN)

IRN เป็นกลุ่มเครือข่ายห้องปฏิบัติการของฝรั่งเศสประกอบด้วยประเทศต่างๆ  ทำงานการวิจัยเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ร่องความกดอากาศต่ำแถบเส้นศูนย์สูตร นอกจากนี้ IRN ยังเป็นกลุ่มที่มีคณะกรรมการเพื่อประสานงานทางด้านวิทยาศาสตร์อีกด้วย

ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์พันธมิตรชาวไทยได้เข้าร่วมทำงานในกลุ่มใน IRN ทั้งสี่แห่ง:

  • IRN COMPACSOL - การบ่งชี้ลักษณะเฉพาะของดินเพื่อลดความเสื่อมโทรมทางกายภาพและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกทางการเกษตรอย่างยั่งยืน
  • IRN Sentinel-VIPs - การผสานองค์ความรู้ทางวิชาการกับความรู้ของคนในท้องถิ่นเพื่อให้เข้าถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกทางระบบนิเวศและแหล่งทรัพยากรในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
  • IRN SOOT-SEA - ผลกระทบของฝุ่นแบล็คคาร์บอนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • IRN WIN - เครือข่ายระดับโลกในต่อต้านการใช้ยาฆ่าแมลง